26 ธันวาคม 2552

บัตรยืนยันการติดต่อ (QSL CARD)

คำว่า QSL ซึ่งมาจากรหัสคิว (Q CODE)หมายถึง "ข้าพเจ้าตอบรับ(ยืนยัน)ว่าได้รับข่าวสารไว้แล้ว"
บัตรยืนยันการติดต่อ(QSL CARD)นั้นมีไว้สำหรับเขียนบันทึกเพื่อเป็นการยืนยันการติดต่อระหว่างสถานีวิทยุรายงานการรับสัญญาณของสถานีวิทยุสมัครเล่น 2 สถานีติดต่อกัน หรือแม้กระทั้งเป็นยืนยันการรับฟังจากสถานีอื่น(นักวิทยุเฝ้าฟัง SWL)จะมีมากในย่าน HF โดยมากบัตรยืนยันการติดต่อจะมีขนาดใกล้เคียงกับไปรษณีย์บัตร และส่งถึงกันโดยใช้ระบบไปรษณีย์ โดยส่วนใหญ่นักวิทยุสมัครเล่นจะสะสมบัตรยืนยันการติดต่อ และสามารถที่จะมาแลกเป็นรางวัลในการติดต่อสื่อสารได้ตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้ และหากนักวิทยุท่านได้สามารถติดต่อประเทศ หรือพื้นที่ติต่อได้ยาก หากได้รับบัตรยืนยันการติดต่อจากประเทศเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่นักวิทยุสมัครเล่นภาคภูมิใจที่ติดต่อได้

ตัวอย่าง QSL CARD


23 ธันวาคม 2552

เทคนิคการฝึกรหัสมอร์ส (ตอนที่ 1)

นักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นที่ต้องการสอบเพื่อขอใบประกาศพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง หรือนักวิทยุเฝ้าฟัง (SWL)ในย่าน HF ซึ่งมีการสื่อสารทั้งการพูดและรหัสมอร์สในการสื่อสาร เพื่อให้นักวิทยุสมัครเล่นสามารถจดจำรหัสมอร์สได้ง่ายขึ้นสามารถแบ่งการจำรหัสมอร์สได้ทั้งหมด 7 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 EISH TMO กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ง่ายที่สุดและใช้เวลาจำไม่กี่ชั่วโมง ก็สามารถจดจำทั้งหมดได้
E = ดิต
I = ดิ ดิต
S = ดิ ดิ ดิต
H = ดิ ดิ ดิ ดิต
T = ดาห์
M = ดาห์ ดาห์
O = ดาห์ ดาห์ ดาห์
กลุ่มที่ 2 จะเป็นกลุ่มที่มีเสียง ดิต หรือ ดาห์ อยู่ด้านหน้าเพียงตัวเดียว เท่านั้น
A = ดิ ดาห์
W = ดิ ดาห์ ดาห์
J = ดิ ดาห์ ดาห์ ดาห์
N = ดาห์ ดิ
D = ดาห์ ดิ ดิต
B = ดาห์ ดิ ดิ ดิต
ในฝึกจดจำรหัสมอร์สกลุ่มที่ 1,2 นี้แล้ว ท่านสามารถจำอักษรได้เกือบครึ่ง โดยให้สังเกตอักษรที่อยู่รอบตัวท่านแล้วทดลองออกเสียงเป็นรหัสมอร์ส ก็จะช่วยให้ท่านสามารถจดได้เร็วขึ้น และสามารถฝึกกลุ่มต่อไปได้
กลุ่มที่ 3 กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กันน้อย แต่ก็สามารถที่จดจำได้ง่ายเช่นกัน
U = ดิ ดิ ดาห์
V = ดิ ดิ ดิ ดาห์
G = ดาห์ ดาห์ ดิต
Z = ดาห์ ดาห์ ดิ ดิต
K = ดาห์ ดิ ดาห์
R = ดิ ดาห์ ดิต
P = ดิ ดิ ดาห์ ดิต
X = ดาห์ ดิ ดิ ดาห์
ข้อสังเกต ในการออกเสียง "ดิต" ที่อยู่ในตัวสุดท้ายนั้น จะถูกตัด "ต" กลายเป็น "ดิ" เพื่อให้เสียงสั้นมีน้ำหนักเน้นน้อยลง

15 ธันวาคม 2552

การแบ่งเขตสัญญาณนามเรียกขานในประเทศไทย

การแบ่งเขตสัญญาณเรียกขานในประเทศ แบ่งกลุ่มตามพื้นที่ ได้ดังนี้

1. สัญญาณเรียกขาน "HS 0 XXX" และ "HS 1 XXX" "E21 XXX" ถึง"E26 XXX" มี 10 จังหวัด
กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง

2. สัญญาณเรียกขาน "HS 2 XXX" และ "E27" มี 8 จังหวัด
จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว

3. สัญญาณเรียกขาน "HS 3 XXX" และ "E27" มี 8 จังหวัด
ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ

4. สัญญาณเรียกขาน "HS 4 XXX" และ "E28" มี 11 จังหวัด
กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร นองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู

5. สัญญาณเรียกขาน "HS 5 XXX" และ "E28" มี 9 จังหวัด
เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์

6. สัญญาณเรียกขาน "HS 6 XXX" และ "E28" มี 8 จังหวัด
กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุทัยธานี

7. สัญญาณเรียกขาน "HS 7 XXX" และ "E29" มี 8 จังหวัด
กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี

8. สัญญาณเรียกขาน "HS 8 XXX" และ "E29" มี 7 จังหวัด
กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี

9. สัญญาณเรียกขาน "HS 9 XXX" และ "E29" มี 7 จังหวัด
ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล

14 ธันวาคม 2552

การเช็คเน็ต

การเช็คเน็ต หมายถึง การเช็คชื่อ หรือการเช็คเพื่อทราบ(ไม่ใช่เป็นการรายงานการรับสัญญาณ ประจำวัน)

นักวิทยุทำไมต้องมีการเช็คเน็ต

1. เพื่อฟังข่าวสาร  ข้อความแจ้งเพื่อทราบของสมาคมหรือชมรม จากเน็ตคอนโทน
2. เพื่อติดต่อสมาชิก หรือฝากข้อความถึงเพื่อนสมาชิก
3. อื่น ๆ เช่น การแจ้งเหตุฉุกเฉิน

นักวิทยุควรปฏฺบัติในการเช็คเน็ต

1. ควรพูดสั้น ๆ  ตัวอย่างเช่น E29MAX ขอร่วมเช็คเน็ตประจำวัน เจ็ดสิบสาม เป็นต้น
2. หลังจากที่ทำการเช็คเน็ต นักวิทยุสมัครเล่นควรอยู่ในความถี่สักครู่ หรือรอจนกว่าเน็ตคอนโทลจะหยุดติการเช็คเน็ตเสร็จสิ้น
3. หากเพื่อนสมาชิกต้องการที่จะติดต่อเพื่อนสมาชิก ให้รอจังหวะความถี่ว่าง ทำการขออนุญาตจากเน็ตคอนโทล แล้วแจ้งต่อเน็ตคอนโทลว่า E29MAX ขอคอนแท็ค กับ HS8JYX ทางความถี่ 144.1875 MHz